ประวัติวัด

วัดบางโปรง
วัดบางโปรง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐ หมู่ที่ ๒ ตำบลบางโปรง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เนื้อที่ ๙ ไร่ ๔ ตารางวาอาณาเขตทิศเหนือยาว ๒ เส้น ๑๑ วา ติดต่อกับ             คลองบางโปรง ทิศใต้ยาว ๓ เส้น ๓ วา ติดต่อกับลำกระโดง ทิศตะวันออกยาว ๒ เส้น ๑๘ วา  ติดต่อกับลำกระโดง ทิศตะวันตกยาว ๓ เส้น ๑๖ วา ติดต่อกับที่ดินของคุณครูบัณฑิตย์ ศรีเขียว ที่ธรณีสงฆ์ จำนวน ๒ แปลงเนื้อที่ ๒ ไร่ ๑ งาน
การคมนาคม มีถนนรถยนต์เข้าถึงวัด โดยผ่านถนนปู่เจ้าสมิงพรายเข้าสอยวัดสวนส้ม
พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม น้ำท่วมถึง
วัดบางโปรงสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๑๙๑๒ เดิมเป็นที่ปลงศพในสมัยที่พระเจ้าอู่ทองเสด็จตรวจราชการข้าราชพริพารที่ตามเสด็จได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคระบาดจึงต้องปลงศพในที่แห่งนี้ ชาวบ้านในแถบนั้นก็ใช้ที่แห่งนี้เป็นที่ปลงศพด้วย เลยเรียกว่า บางปลง ครั้นสร้างวัดขึ้นขนานนามวัดว่า              วัดบางปลง เมื่อกาลเวลาผ่านไป นามวัดได้เปลี่ยนเป็นวัดบางโปรง เพื่อมิให้มีความหมายตรงกับคำว่า ปลงศพ
วัดบางโปรงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลัง เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๓ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ได้ผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔

                           ( อีกนัยหนึ่งแต่ไม่เป็นทางการ )
       ของ อาจารย์บัณฑิต ศรีเขียว อดีตครูใหญ่โรงเรียนวัดบางโปรง
 บันทึกถึงตำบลบางโปรง เมื่อ 25 ตุลาคม 2536 ว่า ปี พ.ศ.1890 ได้เกิดโรคห่า (อหิวาตกโรค) ระบาดใหญ่พลเมืองล้มตายเป็นอันมาก พญาอู่ทองเสด็จทิวงคตที่บ้านสาขลา (บ้านสาขลานาเกลือ อ.พระสมุทรเจดีย์ ปัจจุบัน) สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 9 พระเจ้าอู่ทองราชบุตรเขยจึงทรงนำพระศพพญาอู่ทองกลับเมืองอู่ทอง แต่ระหว่างทางถึงบางหญ้าแพรกเรือแตก ขบวนพระศพจึงลอยมาถึงบางปลง ซึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา พระเจ้าอู่ทองจึงทรงอัญเชิญพญาอู่ทองขึ้นทำพิธีปลงพระศพ ณ ที่บางปลงนี้ ชื่อบางปลงนี้ ต่อมาเป็น บางโปรงมาจนทุกวันนี้

พระครูพุทธิสารโสภิต
เจ้าคณะตำบลสำโรงเหนือ
เจ้าอาวาสวัดบางโปรง ตำบลบางโปรง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรปราการ
(รูปปัจจุบัน)
 


วัดบางโปรงได้มีเจ้าอาวาส ปกครองดูแลทำนุบำรุง เท่าที่สืบทราบดังนี้

๑.      พระอาจารย์มิตร
๒.    พระอาจารย์เหลือ
๓.     พระอาจารย์ปาด
๔.     พระอาจารย์เพิ่ม
๕.     พระอาจารย์เปลื้อง
๖.      พระอาจารย์ผัน
๗.     พระอาจารย์ฉ่อง
๘.     พระอาจารย์เคลือบ
๙.      พระใบฎีกาเทพ
๑๐.  พระใบฎีกาไพจิตร
๑๑. พระปลัดไปล่
๑๒. พระครูภัทรสมุทรคุณ
๑๓. พระครูพุทธิสารโสภิต  (เจ้าอาวาสปัจจุบัน)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น